วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของผักเหลียง

จากการวิเคราะห์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน และกองโภชนาการกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข พบว่าจาก 100 กรัม ของยอดอ่อนใบเหลียงของส่วนที่รับประทานได้ 

มีส่วนประกอบดังนี้
1. แคลอรี่ 400.61 ให้พลังงานแก่ร่างกาย 
2. ไขมัน 1.17 กรัม 
3. โปรตีน 6.56 กรัม 
4. ฟอสฟอรัส 224.37 ม.ก. 
5. วิตามินเอ 10.889 (หน่วยสากล) 
6. วิตามินบี 2 1.25 ม.ก. 
7. กาก 6.80 กรัม 14. เถ้า 1.30 กรัม
8.น้ำ 35.13 กรัม
9. คาร์โบไฮเดรต 90.96 กรัม
10. แคลเซี่ยม 1500.56 ม.ก.
11. เหล็ก 2.51 ม.ก.
12. วิตามินบี 1 0.18 ม.ก.
13. วิตามินไนอาซิน 1.73 ม.ก.

นอกจากนั้น ผักเหลียงอุดมไปด้วย เบต้าแคโรทีน ที่ต้องถือว่าเป็น สารต้านออกซิเดชั่นที่สำคัญ ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเออีกด้วย 
มีข้อมูลออกมาจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าผักเหลียงร้อยกรัมหรือหนึ่งขีดไม่รวมก้าน ให้เบต้าแคโรทีน สูงถึง 1,089 ไมโครกรัมหน่วยเรตินัล สูงกว่าผักบุ้งจีนสามเท่า มากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า
ผักเหลียงมีเบต้าแคโรทีนมากกว่าใบตำลึงเสียด้วยซ้ำ ผักที่ถือว่า เป็นสุดยอดของแหล่งเบต้าแคโรทีนคือแครอท ก็ไม่ได้มีเบต้าแคโรทีนมากไปกว่าผักเหลียงเลย 
เบต้าแคโรทีนเป็นสารสีส้ม แต่กลับมองไม่เห็นสีส้มในผักเหลียง ก็เพราะมันถูกสีเขียวของใบผักปกปิดไว้จนหมด 
กินผักเหลียง จึงให้ทั้งคุณค่าของเบต้าแคโรทีนและสารพฤกษเคมีจากผักใบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น